เรื่องมีอยู่ว่า.....
เวลาที่เรารักใคร
ก็ยึดก็ติด
อยากให้เขา
เป็นของเราคนเดียว
เขาไปมีใคร
ไปยุ่งกับใคร
ก็ทุกข์ใจเจียนตาย
พอมีรักดีๆ
ก็ไม่รักษาไว้
เห็นเป็นรักเก่า
อยากมีรักใหม่
วิ่งไขว่คว้า
หาสิ่งที่คิดว่า
สดชื่นกว่าอยู่ร่ำไป
สุดท้าย ...
ของเก่าก็รักษาไว้ไม่ได้
ของใหม่ก็เป็นเพียงภาพลวงตา
เหมือนหมามองชิ้นเนื้อที่อยู่ในน้ำ
วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
เค้าว่ากันว่า . . . อ่านหนังสือสักเล่มต้องใช้เวลา
เช่นเดียวกัน เราคงไม่รู้จักใครสักคนได้ดีตั้งแต่วันแรก
เค้าว่ากันว่า . . . อย่าตัดสินหนังสือดี ๆแค่ปกมันสวย
เช่นเดียวกัน คนหน้าตาดี อาจจะไม่ใช่คนดีเสมอไป
เค้าว่ากันว่า . . . คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเลย
ก็ใช่ว่าจะมีหนังสือเล่มแรกในชีวิตที่ชอบไม่ได้
เช่นเดียวกัน คนที่เราไม่คิดจะอยากรู้จัก
อาจจะเป็นคนที่ดีที่สุดในชีวิตเราก็ได้
เค้าว่ากันว่า . . . การชอบหนังสือสักเล่ม
ไม่ได้หมายความว่า หนังสือเล่มนั้น เนื้อหาดีทุกหน้า
เช่นเดียวกัน การรู้สึกดีกับใครสักคน
ไม่จำเป็นว่าเขาต้องไม่มีข้อเสียอะไรเลย
เค้าว่ากันว่า . . . อย่ารู้สึกเสียดายเวลา
กับการอ่านหนังสือบางเล่มจนจบ แล้วพบว่าเป็นหนังสือที่ไม่ชอบ
เช่นเดียวกัน จงรู้สึกดี
กับการใช้เวลากับใครสักคนหนึ่งอย่างเต็มที่
แม้ว่าวันหนึ่งจะรู้ว่า
เขาคนนั้นไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต และจิตใจเลยสักนิด
เพราะอย่างน้อย ต่อจากนี้ไป
เราจะได้เลือกทางที่ถูกและคนที่ใช่ซะที
เช่นเดียวกัน เราคงไม่รู้จักใครสักคนได้ดีตั้งแต่วันแรก
เค้าว่ากันว่า . . . อย่าตัดสินหนังสือดี ๆแค่ปกมันสวย
เช่นเดียวกัน คนหน้าตาดี อาจจะไม่ใช่คนดีเสมอไป
เค้าว่ากันว่า . . . คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเลย
ก็ใช่ว่าจะมีหนังสือเล่มแรกในชีวิตที่ชอบไม่ได้
เช่นเดียวกัน คนที่เราไม่คิดจะอยากรู้จัก
อาจจะเป็นคนที่ดีที่สุดในชีวิตเราก็ได้
เค้าว่ากันว่า . . . การชอบหนังสือสักเล่ม
ไม่ได้หมายความว่า หนังสือเล่มนั้น เนื้อหาดีทุกหน้า
เช่นเดียวกัน การรู้สึกดีกับใครสักคน
ไม่จำเป็นว่าเขาต้องไม่มีข้อเสียอะไรเลย
เค้าว่ากันว่า . . . อย่ารู้สึกเสียดายเวลา
กับการอ่านหนังสือบางเล่มจนจบ แล้วพบว่าเป็นหนังสือที่ไม่ชอบ
เช่นเดียวกัน จงรู้สึกดี
กับการใช้เวลากับใครสักคนหนึ่งอย่างเต็มที่
แม้ว่าวันหนึ่งจะรู้ว่า
เขาคนนั้นไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต และจิตใจเลยสักนิด
เพราะอย่างน้อย ต่อจากนี้ไป
เราจะได้เลือกทางที่ถูกและคนที่ใช่ซะที
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551
บทความวิจัย
เนื้อหา แนวคิดและการใช้ภาษา
ในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง)[*]
นริศรา สาระปารัง[†]
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเนื้อหาและแนวคิดในบทเพลงไทยสากลของ วิดไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง) ตลอดจนศึกษาการใช้ภาษาในบทเพลง โดยอาศัยข้อมูลจากเนื้อเพลง ในอัลบั้มเดี่ยวทั้งหมด จำนวน ๓๐ เพลง
จากการศึกษาเนื้อหาในเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ พบว่า เพลงทั้งหมดเป็นผลงานเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรัก โดยนำเสนอความรักผ่านเนื้อหาในบทเพลงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑) เนื้อหาการตัดใจจากคนรัก ๒) เนื้อหาการรำพึงถึงสตรีที่ตนพึงใจ (รักข้างเดียว)๓) เนื้อหาการเกี้ยวพาราสี ๔) เนื้อหาความรักแบบชู้สาว(นอกใจ) ๕) เนื้อหาแสดงความอาลัยอาวรณ์คนรัก ๖ ) เนื้อหาความรักแบบประชดประชัน ๗) เนื้อหาเกี่ยวกับความรักแบบครอบครัว
ด้านการศึกษาแนวคิดพบว่าปรากฏดังนี้ ๑) แนวคิดเกี่ยวกับความรัก ๒) แนวคิดเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ๓ ) แนวคิดเกี่ยวกับการต่อสู้อุปสรรคและปัญหา ๔) แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
การใช้ถ้อยคำ ลักษณะการใช้ถ้อยคำที่พบมีดังต่อไปนี้ การใช้ถ้อยคำเพื่อเน้นความรู้สึก มีการใช้ถ้อยคำที่ หนักแน่น รุนแรง และลึกซึ่ง เพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง การใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดจินตภาพ ผู้ประพันธ์จะใช้คำคุณศัพท์หลายคำเพื่อขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้น
การศึกษาการใช้ภาษา มีการเลือกใช้โวหารที่เด่นๆ ๔ ลักษณะดังนี้ การใช้อุปมา การเปรียบเทียบ การใช้สัญลักษณ์ เป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างความสนใจให้แก่ผู้ฟัง มีการใช้ บุคลาธิษฐาน โดยให้ความรู้สึกทำกิริยาอาการเหมือนคน ใช้ ปฏิปุจฉา มีการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบเพื่อให้ผู้ฟังได้คิดตามและทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับบทเพลง
บทนำ
บทเพลงต่างๆเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันมากขึ้นนั้น อาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นไปด้วยความเร่งรีบ รวดเร็วและแข่งขันกันจึงทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียด เกิดอารมณ์ที่ขุ่นมัวได้ง่าย บทเพลงจึงเป็นทางหนึ่งที่คนในสังคมเลือกมาเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และความตึงเครียดที่เกิดขึ้น และเนื่องจากเพลงเป็นสิ่งที่หาฟังได้ง่ายโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสื่อต่างๆเช่นวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นซีดี หรือจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อที่อยู่ใกล้ตัวและทันสมัย เพลงจึงเป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคปัจจุบันนิยมฟังกันมาก
ร็อค เป็นดนตรียอดนิยมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างจากเพลงยอดนิยมทั่วไป ตรงที่มีจำนวนนักดนตรีน้อย แต่ใช้เครื่องขยายเสียงแต่งเสียงให้ดังมาก มีจังหวะที่โหมกระหน่ำ โดยเฉพาะเสียงกีต้าร์ จะใช้เครื่องเสียงวิทยาการสมัยใหม่ปรุงแต่งเสียง ให้มีลักษณะระดับเสียงที่หลากหลาย เครื่องดนตรีหลักของวงคือ กีตาร์ไฟฟ้า ๒ ตัว เบสไฟฟ้า กลองชุด และคีย์บอร์ด อาจมีเครื่องดนตรีชนิดอื่นเพิ่มขึ้นมา แล้วแต่ความต้องการของผู้เล่นส่วนลักษณะการร้อง แตกต่างจากเพลง
ป๊อบปูลลาร์คือ นักร้องเพลงร็อคจะมีการตะโกน กรีดร้อง ครวญคราง หรือคำราม มักจะสูงจนแสบแก้วหู วัยรุ่นเป็นวัยที่นิยมเพลงร็อคเป็นอันมาก ความนิยมดังกล่าวปรากฏในรูปแบบของยอดขายหรือการติดอันดับของเพลงร็อคในคลื่นวิทยุสถานีต่างๆ ในขณะที่สังคมไทยมีความเห็นว่า เพลงร็อคเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาครอบงำวัยรุ่นไทย ขัดแย้งกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ดังที่ สุกรี เจริญสุข กล่าวว่า “ดนตรีร็อคเป็นสื่อในทางกิเลสมากกว่าสื่อของความหลุดพ้น” (สุกรี เจริญสุข,๒๕๔๔:๗๒) เพลงร็อคขาดสุนทรียศิลป์ เช่น เนื้อร้อง ทำนอง หรือเสียงประสาน ซึ่งแหวกกฎเกณฑ์ทั่วไป
ในบรรดานักร้องเพลงร็อคนั้น วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งทั้งนี้อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่ เนื้อร้องของเพลงที่มีการใช้ภาษากำกวม หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและสื่อความหมายสองแง่สองง่ามจนเป็นที่มาของฉายา ทำให้ทราบกันในวงการว่า ร็อคปากจัด หรือ เจ้าพ่อเพลงจิกกัด ผลงานของ วิด ไฮเปอร์ นั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในหมู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ จากกระแสข่าวเนื้อหาเพลงที่หมิ่นเหม่ต่อการขัดศีลธรรมในบทเพลงไทยสากลของวิด ไฮเปอร์(เชษฐา ฉายาช่าง)ส่งผลให้งานเพลงดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้งดออกอากาศข้างต้นและฉายาที่นักร้องเพลงร็อคได้รับไม่ว่าจะเป็น เจ้าพ่อเพลงกัดจิก หรือ ร็อคปากจัด ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาแนวคิดและการใช้ภาษาในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะบทเพลงที่เป็นผลงานของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง) อัลบั้มเดี่ยว ทั้งหมด ๓ อัลบั้ม
อัลบั้มที่ ๑ ผู้ร้ายคนใหม่ วางแผงเมื่อ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ จำนวน ๑๐ เพลง
อัลบั้มที่ ๒ วิดชนิดพิเศษ วางแผงเมื่อ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ จำนวน ๑๐ เพลง
อัลบั้มที่ ๓ โก๋วิด (วิดชนิดพิเศษ) วางแผงเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๑๐ เพลง
รวมทั้งสิ้น ๓๐ เพลง
ผลการวิจัย
จากการศึกษาเนื้อหาในเพลงไทยสากลของ วิดไฮเปอร์ พบว่า เพลงทั้งหมดเป็นผลงานเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรัก โดยนำเสนอความรักผ่านเนื้อหาในบทเพลงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑.๑ เนื้อหาเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์
๑.๑.๑ เนื้อหาการตัดใจจากคนรัก
ในบทเพลงกล่าวถึงความผิดหวังที่คนรักปันใจให้ชายอื่น ถือเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย ความรักที่เคยมีจึงเปลี่ยนไป เกิดความอึดอัดคับข้องใจ ในที่สุดต้องเลิกรากัน
๑.๑.๒ เนื้อหาการรำพึงถึงสตรีที่ตนพึงใจ (รักข้างเดียว)
ความรู้สึกที่หลงรักผู้หญิงคนหนึ่งแต่ถูกมองข้ามเพราะว่าฝ่ายชายหน้าตาไม่ดี ปากเสีย ถึงแม้จะมีความจริงใจแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายหญิงสนใจได้กลายเป็นความรักฝ่ายเดียว
๑.๑.๓ เนื้อหาการเกี้ยวพาราสี
การใช้คำชื่นชมหญิงสาว ว่ามีความงดงาม คำชมดังกล่าวทำให้หญิงสาวเกิดความพึงพอใจต่อผู้กล่าว และอาจเกิดความรู้สึกที่ดี จนแสดงความสนใจตอบกลับมาก็เป็นได้
๑.๑.๔ เนื้อหาความรักแบบชู้สาว(นอกใจ)
๑.๑.๔.๑ เนื้อหาที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายนอกใจ
ความรักที่ผิดหวังโดยที่ฝ่ายหญิงมีใจให้ชายอื่นหรือเป็นฝ่ายตีจากทำให้ฝ่ายชายรู้สึกเสียใจ
๑.๑.๔.๒ เนื้อหาที่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายนอกใจ
ฝ่ายชายมีคู่รักอยู่แล้ว แต่แอบมาคบหากับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง โดยที่ผู้หญิงคนใหม่รับรู้และยอมที่จะคบหากันในทางชู้สาว
๑.๑.๕ เนื้อหาแสดงความอาลัยอาวรณ์คนรัก
แม้คนเราจะเลิกรากันไปแต่ก็ยังมีความผูกพันต่อคนรักอยู่ ยังคงมีความสุขเมื่อคิดถึงเรื่องราวในอดีต คิดถึงความสัมพันอันดีต่อกัน
๑.๒.๑ เนื้อหาความรักแม่
ลูกที่ต้องจากบ้านมาไกลเพื่อมาหาทำงานในเมืองใหญ่แม้จะเจออุปสรรคใดๆแต่ก็ยังอดทนต่อสู้ เพื่อครอบครัว แม่จะได้กินอยู่อย่างสบาย อย่างที่แม่หวังและตั้งใจ
๒ แนวคิดในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์
๒.๑ แนวคิดเกี่ยวกับความรัก
๒.๑.๑ ชายหญิงแสดงความรู้สึกต่อกันอย่างเปิดเผย
ผู้ชายสามารถเต็มใจยอมรับสถานะความรักที่ตนเองเป็นรอง ยินยอมให้ผู้หญิงไปมีชายอื่นในขณะที่ยังอยู่กับตนได้
๒.๑.๒ ความรักต่างฐานะมักไม่สมหวัง
การที่ผู้ชายหลงรักหญิงสาวที่มีฐานะทางสังคม การศึกษาสูงกว่าตนเอง คือหญิงสาวที่มีฐานะสูงกว่าตนเอง และเป็นการยากที่จะให้ความสนใจชายที่มีฐานะด้อยกว่า ไม่เหมาะสมที่จะเป็นคู่ครองกัน
๒.๒ แนวคิดเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต
๒.๒.๑ ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง
แนวคิดตามความจริงของธรรมชาติที่ว่า ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมที่ทุกคนรู้และเข้าใจ
๒.๓ แนวคิดเกี่ยวกับการต่อสู้อุปสรรคและปัญหา
มนุษย์ทุกคนต้องมีความหวัง และต้องพยายามไปสู่จุดหมายที่ตั้งเอาไว้ ด้วยความเพียรพยายามอย่าได้ท้อถอย
๒.๔ แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
๒.๔.๑ ประชากรในสังคมเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี
สะท้อนปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง ไม่ว่าจะเป็นการแก่งแย่งแข่งขัน
๓.๑ ด้านการใช้ถ้อยคำ
๓.๑.๑ การใช้ถ้อยคำเพื่อเน้นความรู้สึก
มีการใช้ถ้อยคำที่ หนักแน่น รุนแรง และลึกซึ่ง เพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังให้มีอารมณ์คล้อยตาม
๓.๑.๒ การใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดจินตภาพ
บทเพลงเกือบทุกบทเพลง ผู้ประพันธ์จะใช้คำคุณศัพท์หลายคำเพื่อขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้น
๓.๑.๓ การใช้คำภาษาต่างประเทศ
ปรากฏคำภาษาต่างประเทศค่อนข้างมากในแต่ละบทเพลงโดยมีทั้งคำทับศัพท์ทั่วไป และคำศัพท์ใหม่ๆที่ยังไม่คุ้นเคย
๓.๒ การใช้โวหารภาพพจน์
๓.๒.๑ การใช้อุปมา
การเปรียบเทียบปรากฏอยู่ในบทเพลงแม้เพลงทั้งหมดจะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก แต่สามารถ นำอุปมามาใช้ในบทเพลงได้อย่างหลากหลาย
๓.๒.๒ การบุคลาธิษฐาน
มีการนำบุคลาธิษฐานมาใช้ เพื่อให้บทเพลงมีความน่าสนใจชวนให้ติดตามโดยใช้ภาษาง่ายๆผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที
๓.๒.๓ การใช้ปฏิปุจฉา
มีการนำปฏิปุจฉา คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ มาใช้ในการสื่อเรื่องราวในบทเพลงค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ฟังคิดตาม และกระตุ้นให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเพลง
๓.๒.๔ การใช้สัญลักษณ์
มีการใช้สัญลักษณ์ปรากฏให้เห็นด้วยกันหลายบทเพลง ทั้งนี้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆเป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างความสนใจแก่ผู้ฟัง
[*] บทความนี้เรียบเรียงมาจากส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ ตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เรื่อง เนื้อหาแนวคิด และการใช้ภาษาในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง)
[†] นริศรา สาระปารัง.นักศึกษา วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง)[*]
นริศรา สาระปารัง[†]
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเนื้อหาและแนวคิดในบทเพลงไทยสากลของ วิดไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง) ตลอดจนศึกษาการใช้ภาษาในบทเพลง โดยอาศัยข้อมูลจากเนื้อเพลง ในอัลบั้มเดี่ยวทั้งหมด จำนวน ๓๐ เพลง
จากการศึกษาเนื้อหาในเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ พบว่า เพลงทั้งหมดเป็นผลงานเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรัก โดยนำเสนอความรักผ่านเนื้อหาในบทเพลงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑) เนื้อหาการตัดใจจากคนรัก ๒) เนื้อหาการรำพึงถึงสตรีที่ตนพึงใจ (รักข้างเดียว)๓) เนื้อหาการเกี้ยวพาราสี ๔) เนื้อหาความรักแบบชู้สาว(นอกใจ) ๕) เนื้อหาแสดงความอาลัยอาวรณ์คนรัก ๖ ) เนื้อหาความรักแบบประชดประชัน ๗) เนื้อหาเกี่ยวกับความรักแบบครอบครัว
ด้านการศึกษาแนวคิดพบว่าปรากฏดังนี้ ๑) แนวคิดเกี่ยวกับความรัก ๒) แนวคิดเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ๓ ) แนวคิดเกี่ยวกับการต่อสู้อุปสรรคและปัญหา ๔) แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
การใช้ถ้อยคำ ลักษณะการใช้ถ้อยคำที่พบมีดังต่อไปนี้ การใช้ถ้อยคำเพื่อเน้นความรู้สึก มีการใช้ถ้อยคำที่ หนักแน่น รุนแรง และลึกซึ่ง เพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง การใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดจินตภาพ ผู้ประพันธ์จะใช้คำคุณศัพท์หลายคำเพื่อขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้น
การศึกษาการใช้ภาษา มีการเลือกใช้โวหารที่เด่นๆ ๔ ลักษณะดังนี้ การใช้อุปมา การเปรียบเทียบ การใช้สัญลักษณ์ เป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างความสนใจให้แก่ผู้ฟัง มีการใช้ บุคลาธิษฐาน โดยให้ความรู้สึกทำกิริยาอาการเหมือนคน ใช้ ปฏิปุจฉา มีการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบเพื่อให้ผู้ฟังได้คิดตามและทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับบทเพลง
บทนำ
บทเพลงต่างๆเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันมากขึ้นนั้น อาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นไปด้วยความเร่งรีบ รวดเร็วและแข่งขันกันจึงทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียด เกิดอารมณ์ที่ขุ่นมัวได้ง่าย บทเพลงจึงเป็นทางหนึ่งที่คนในสังคมเลือกมาเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และความตึงเครียดที่เกิดขึ้น และเนื่องจากเพลงเป็นสิ่งที่หาฟังได้ง่ายโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสื่อต่างๆเช่นวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นซีดี หรือจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อที่อยู่ใกล้ตัวและทันสมัย เพลงจึงเป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคปัจจุบันนิยมฟังกันมาก
ร็อค เป็นดนตรียอดนิยมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างจากเพลงยอดนิยมทั่วไป ตรงที่มีจำนวนนักดนตรีน้อย แต่ใช้เครื่องขยายเสียงแต่งเสียงให้ดังมาก มีจังหวะที่โหมกระหน่ำ โดยเฉพาะเสียงกีต้าร์ จะใช้เครื่องเสียงวิทยาการสมัยใหม่ปรุงแต่งเสียง ให้มีลักษณะระดับเสียงที่หลากหลาย เครื่องดนตรีหลักของวงคือ กีตาร์ไฟฟ้า ๒ ตัว เบสไฟฟ้า กลองชุด และคีย์บอร์ด อาจมีเครื่องดนตรีชนิดอื่นเพิ่มขึ้นมา แล้วแต่ความต้องการของผู้เล่นส่วนลักษณะการร้อง แตกต่างจากเพลง
ป๊อบปูลลาร์คือ นักร้องเพลงร็อคจะมีการตะโกน กรีดร้อง ครวญคราง หรือคำราม มักจะสูงจนแสบแก้วหู วัยรุ่นเป็นวัยที่นิยมเพลงร็อคเป็นอันมาก ความนิยมดังกล่าวปรากฏในรูปแบบของยอดขายหรือการติดอันดับของเพลงร็อคในคลื่นวิทยุสถานีต่างๆ ในขณะที่สังคมไทยมีความเห็นว่า เพลงร็อคเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาครอบงำวัยรุ่นไทย ขัดแย้งกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ดังที่ สุกรี เจริญสุข กล่าวว่า “ดนตรีร็อคเป็นสื่อในทางกิเลสมากกว่าสื่อของความหลุดพ้น” (สุกรี เจริญสุข,๒๕๔๔:๗๒) เพลงร็อคขาดสุนทรียศิลป์ เช่น เนื้อร้อง ทำนอง หรือเสียงประสาน ซึ่งแหวกกฎเกณฑ์ทั่วไป
ในบรรดานักร้องเพลงร็อคนั้น วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งทั้งนี้อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่ เนื้อร้องของเพลงที่มีการใช้ภาษากำกวม หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและสื่อความหมายสองแง่สองง่ามจนเป็นที่มาของฉายา ทำให้ทราบกันในวงการว่า ร็อคปากจัด หรือ เจ้าพ่อเพลงจิกกัด ผลงานของ วิด ไฮเปอร์ นั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในหมู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ จากกระแสข่าวเนื้อหาเพลงที่หมิ่นเหม่ต่อการขัดศีลธรรมในบทเพลงไทยสากลของวิด ไฮเปอร์(เชษฐา ฉายาช่าง)ส่งผลให้งานเพลงดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้งดออกอากาศข้างต้นและฉายาที่นักร้องเพลงร็อคได้รับไม่ว่าจะเป็น เจ้าพ่อเพลงกัดจิก หรือ ร็อคปากจัด ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาแนวคิดและการใช้ภาษาในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะบทเพลงที่เป็นผลงานของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง) อัลบั้มเดี่ยว ทั้งหมด ๓ อัลบั้ม
อัลบั้มที่ ๑ ผู้ร้ายคนใหม่ วางแผงเมื่อ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ จำนวน ๑๐ เพลง
อัลบั้มที่ ๒ วิดชนิดพิเศษ วางแผงเมื่อ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ จำนวน ๑๐ เพลง
อัลบั้มที่ ๓ โก๋วิด (วิดชนิดพิเศษ) วางแผงเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๑๐ เพลง
รวมทั้งสิ้น ๓๐ เพลง
ผลการวิจัย
จากการศึกษาเนื้อหาในเพลงไทยสากลของ วิดไฮเปอร์ พบว่า เพลงทั้งหมดเป็นผลงานเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรัก โดยนำเสนอความรักผ่านเนื้อหาในบทเพลงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑.๑ เนื้อหาเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์
๑.๑.๑ เนื้อหาการตัดใจจากคนรัก
ในบทเพลงกล่าวถึงความผิดหวังที่คนรักปันใจให้ชายอื่น ถือเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย ความรักที่เคยมีจึงเปลี่ยนไป เกิดความอึดอัดคับข้องใจ ในที่สุดต้องเลิกรากัน
๑.๑.๒ เนื้อหาการรำพึงถึงสตรีที่ตนพึงใจ (รักข้างเดียว)
ความรู้สึกที่หลงรักผู้หญิงคนหนึ่งแต่ถูกมองข้ามเพราะว่าฝ่ายชายหน้าตาไม่ดี ปากเสีย ถึงแม้จะมีความจริงใจแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายหญิงสนใจได้กลายเป็นความรักฝ่ายเดียว
๑.๑.๓ เนื้อหาการเกี้ยวพาราสี
การใช้คำชื่นชมหญิงสาว ว่ามีความงดงาม คำชมดังกล่าวทำให้หญิงสาวเกิดความพึงพอใจต่อผู้กล่าว และอาจเกิดความรู้สึกที่ดี จนแสดงความสนใจตอบกลับมาก็เป็นได้
๑.๑.๔ เนื้อหาความรักแบบชู้สาว(นอกใจ)
๑.๑.๔.๑ เนื้อหาที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายนอกใจ
ความรักที่ผิดหวังโดยที่ฝ่ายหญิงมีใจให้ชายอื่นหรือเป็นฝ่ายตีจากทำให้ฝ่ายชายรู้สึกเสียใจ
๑.๑.๔.๒ เนื้อหาที่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายนอกใจ
ฝ่ายชายมีคู่รักอยู่แล้ว แต่แอบมาคบหากับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง โดยที่ผู้หญิงคนใหม่รับรู้และยอมที่จะคบหากันในทางชู้สาว
๑.๑.๕ เนื้อหาแสดงความอาลัยอาวรณ์คนรัก
แม้คนเราจะเลิกรากันไปแต่ก็ยังมีความผูกพันต่อคนรักอยู่ ยังคงมีความสุขเมื่อคิดถึงเรื่องราวในอดีต คิดถึงความสัมพันอันดีต่อกัน
๑.๒.๑ เนื้อหาความรักแม่
ลูกที่ต้องจากบ้านมาไกลเพื่อมาหาทำงานในเมืองใหญ่แม้จะเจออุปสรรคใดๆแต่ก็ยังอดทนต่อสู้ เพื่อครอบครัว แม่จะได้กินอยู่อย่างสบาย อย่างที่แม่หวังและตั้งใจ
๒ แนวคิดในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์
๒.๑ แนวคิดเกี่ยวกับความรัก
๒.๑.๑ ชายหญิงแสดงความรู้สึกต่อกันอย่างเปิดเผย
ผู้ชายสามารถเต็มใจยอมรับสถานะความรักที่ตนเองเป็นรอง ยินยอมให้ผู้หญิงไปมีชายอื่นในขณะที่ยังอยู่กับตนได้
๒.๑.๒ ความรักต่างฐานะมักไม่สมหวัง
การที่ผู้ชายหลงรักหญิงสาวที่มีฐานะทางสังคม การศึกษาสูงกว่าตนเอง คือหญิงสาวที่มีฐานะสูงกว่าตนเอง และเป็นการยากที่จะให้ความสนใจชายที่มีฐานะด้อยกว่า ไม่เหมาะสมที่จะเป็นคู่ครองกัน
๒.๒ แนวคิดเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต
๒.๒.๑ ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง
แนวคิดตามความจริงของธรรมชาติที่ว่า ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมที่ทุกคนรู้และเข้าใจ
๒.๓ แนวคิดเกี่ยวกับการต่อสู้อุปสรรคและปัญหา
มนุษย์ทุกคนต้องมีความหวัง และต้องพยายามไปสู่จุดหมายที่ตั้งเอาไว้ ด้วยความเพียรพยายามอย่าได้ท้อถอย
๒.๔ แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
๒.๔.๑ ประชากรในสังคมเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี
สะท้อนปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง ไม่ว่าจะเป็นการแก่งแย่งแข่งขัน
๓.๑ ด้านการใช้ถ้อยคำ
๓.๑.๑ การใช้ถ้อยคำเพื่อเน้นความรู้สึก
มีการใช้ถ้อยคำที่ หนักแน่น รุนแรง และลึกซึ่ง เพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังให้มีอารมณ์คล้อยตาม
๓.๑.๒ การใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดจินตภาพ
บทเพลงเกือบทุกบทเพลง ผู้ประพันธ์จะใช้คำคุณศัพท์หลายคำเพื่อขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้น
๓.๑.๓ การใช้คำภาษาต่างประเทศ
ปรากฏคำภาษาต่างประเทศค่อนข้างมากในแต่ละบทเพลงโดยมีทั้งคำทับศัพท์ทั่วไป และคำศัพท์ใหม่ๆที่ยังไม่คุ้นเคย
๓.๒ การใช้โวหารภาพพจน์
๓.๒.๑ การใช้อุปมา
การเปรียบเทียบปรากฏอยู่ในบทเพลงแม้เพลงทั้งหมดจะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก แต่สามารถ นำอุปมามาใช้ในบทเพลงได้อย่างหลากหลาย
๓.๒.๒ การบุคลาธิษฐาน
มีการนำบุคลาธิษฐานมาใช้ เพื่อให้บทเพลงมีความน่าสนใจชวนให้ติดตามโดยใช้ภาษาง่ายๆผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที
๓.๒.๓ การใช้ปฏิปุจฉา
มีการนำปฏิปุจฉา คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ มาใช้ในการสื่อเรื่องราวในบทเพลงค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ฟังคิดตาม และกระตุ้นให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเพลง
๓.๒.๔ การใช้สัญลักษณ์
มีการใช้สัญลักษณ์ปรากฏให้เห็นด้วยกันหลายบทเพลง ทั้งนี้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆเป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างความสนใจแก่ผู้ฟัง
[*] บทความนี้เรียบเรียงมาจากส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ ตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เรื่อง เนื้อหาแนวคิด และการใช้ภาษาในบทเพลงไทยสากลของ วิด ไฮเปอร์ (เชษฐา ฉายาช่าง)
[†] นริศรา สาระปารัง.นักศึกษา วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551
สักวันจะรักตัวเอง
เมื่อเรารักกัน… ไม่ต้องคิดว่าจะโง่หรือจะฉลาดไม่ต้องคิดว่า… ถ้าเชื่อเค้าแล้วเราจะโง่ในสายตาใคร ๆไม่ต้องคิดว่า… ถ้าเปิดหูตารับฟังปากชาวบ้านเป็นการฉลาดไม่ต้องคิดว่า… ถ้าเชื่อว่าเค้ารักเราคนเดียวเป็นเรื่องโง่ไม่ต้องคิดว่า… ถ้ารู้ว่าเค้าทำอะไรเพื่ออะไรเป็นเรื่องฉลาดไม่ต้องคิดว่า… ถ้าให้โอกาสเค้าเรื่อย ๆ เป็นเรื่องโง่ไม่ต้องคิดว่า… ถ้าตั้งกฎเกณฑ์แล้วจะฉลาด
ความรัก เป็นสิ่งที่สวยงาม ถ้าเรารักเป็น และเลือกที่จะรัก
วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)